Tech&Tips
(1.)เทคนิคการตัดภาพพื้นหลังด้วยคฑาวิเศษ โดยโปรแกรมPhotoshop
1. เปิดโปรแกรม Photoshop จากนั้นไปที่ File -->Open
2. เลือกภาพที่ต้องการเพื่อนำมาตัดพื้นหลัง เมื่อเลือกได้แล้ว คลิกที่ภาพ กดปุ่ม Open
3. ทำการ copy ภาพ ขึ้นมาอีกหนึ่งเลเยอร์ ไปที่ Layer -->Duplicate Layer
4. ตั้งชื่อเลเยอร์ กดปุ่ม OKและจะได้เลเยอร์ที่เหมือนกันมาอีกหนึ่งเลเยอร์ เพื่อป้องกันภาพต้นฉบับเสียหาย
จากนั้นทำการปิดตาที่เลเยอร์ Background
5. เลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ตัดภาพ ซึ่งวิธีการตัดภาพวัตถุออกจากพื้นหลังนั้น มีเครื่องมือหลายชนิดให้เลือกใช้ สำหรับวันนี้ขอแนะนำ เครื่องมือ Magic Wand Tool เครื่องมือนี้เอาไว้สำหรับเลือกพื้นที่ของภาพ
คลิกเมาส์ซ้ายหนึ่งครั้ง ที่รูปเครื่องมือ Magic Wand Tool
6. ปรับค่า Tolerance ตามต้องการ ซึ่งการปรับค่านี้ต้องพิจารณาจากรูปภาพของเราด้วย หากภาพที่นำมาใช้มีสีของพื้นหลังและสีของวัตุที่ตัดกันไม่มาก ก็ควรกำหนดค่า Tolerance ให้สูงๆ ในที่นี้ผู้เขียนเลือกปรับที่ 100
จากนั้นคลิกหนึ่งครั้งลงในพื้นที่พื้นหลังของภาพที่เราต้องการจะตัดออก
7. จากนั้นกดปุ่ม Delete ภาพพื้นหลังก็จะหายไป
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถตัดวัตถุออกจากพื้นหลังได้แล้วล่ะค่ะ
8. เราลองเอาภาพที่ตัดได้ มาลองใช้งานกันดีกว่า โดยเลือกวิธีการนำวัตถุที่ตัดได้นั้น ไปใส่ในภาพอื่น
เปิดภาพที่เราต้องการลากไปใส่ขึ้นมา File-->Open
9. ใช้เครื่องมือ Move Tool ในการย้ายภาพที่เราตัดภาพหลังเรียบร้อยแล้ว ไปยังภาพอีกภาพหนึ่งที่เราต้องการจะย้ายไป
10. คลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้แล้วทำการลากดอกทานตะวัน ไปใส่อีกภาพหนึ่งที่เราต้องการย้ายไป
ภาพผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังนี้
(2.)เทคนิคการเลือก Hosting
เว็บโฮสติ้ง คือ บริการให้เช่าพื้นที่ รับฝากเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปกติแล้วการที่จะมีเว็บไซต์ได้นั้น จะต้องมีระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง อย่างไรก็ตามการที่ทุกเว็บไซต์ต้องติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ จะต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สูงมากและต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบตลอดเวลา การใช้งานแบบนี้จะเหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ และธุรกิจที่มีงบประมาณมาก การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กแล้ว การมีเว็บไซต์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปทำให้มีผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งเข้ามาสนับสนุนระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้กับผู้ที่ต้องการมีเว็บไซต์ โดยผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งหรือ Hosting Service Provider จะให้บริการรับฝากเว็บไซต์ให้กับองค์กรขนาดกลางและเล็กพร้อมทั้งให้บริการดูแลด้านระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้กับเว็บไซต์ที่มาใช้บริการ เพื่อให้สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งจะคิดค่าบริการจากค่าเช่าพื้นที่
ราคาของเว็บโฮสติ้งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล เจ้าของเว็บไซต์ต้องพิจารณากำหนดขนาดพื้นที่เว็บไซต์ของตนว่าควรมีขนาดเท่าใดและควรมองไปถึงโอกาสการขยายพื้นที่ในอนาคต การคำนวณขนาดพื้นที่เว็บไซต์ที่ต้องการใช้การประมาณจาก จำนวนหน้าของเว็บไซต์ที่ต้องการ เช่นต้องการ 50 หน้า และประมาณการว่าแต่ละหน้าประกอบด้วยเนื้อหาและรูปภาพจำนวนเท่าไร ตามปกติเนื้อหาจะใช้พื้นที่ไม่มากแต่รูปภาพจะใช้พื้นที่มาก หากต้องการมีรูปภาพแต่ละหน้า 10 รูป รวมทั้งเว็บไซต์มี 500 รูป แต่ละรูปให้มีขนาดภาพไม่เกิน 100KB (เพียงพอสำหรับการทำเว็บไซต์ให้สวยงาม และแสดงผลได้เร็ว) จึงใช้พื้นที่รวม 50MB เมื่อเผื่อพื้นที่สำหรับเนื้อหาและการขยายในอนาคตอีก 1 เท่า จึงประมาณการพื้นที่รวม 100MB เป็นต้น
ปริมาณข้อมูลที่รับ – ส่ง หรือ Bandwidth หมายถึงข้อมูลการรับ – ส่ง ระหว่างผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งตามปรกติแล้ว ปริมาณข้อมูล Bandwidth จะไม่แน่นอน ดังนั้นจึงควรเลือกผู้ให้บริการที่ไม่จำกัด Bandwidth แต่ราคาจะสูงกว่ารายที่จำกัด Bandwidth พิจารณาจาก Application ต่าง ๆ ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งบางราย มีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ Application บนเว็บไซต์ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่า Applicationที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องการนำมาพัฒนาเว็บไซต์นั้น สามารถใช้ได้กับเว็บโฮสติ้งรายใดบ้าง พิจารณาความเร็วในการรับ – ส่งข้อมูล เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องสามารถรับ – ส่ง ข้อมูลได้รวดเร็ว และรองรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งใน และต่างประเทศได้ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่มีคุณภาพจะคอยดูแลเว็บไซต์ที่อยู่บนเว็บโฮสติ้งนั้นให้มีจำนวนที่เหมาะสม และผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ด้วยความรวดเร็ว
ระบบสำรองข้อมูล เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉิน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายของข้อมูลในเว็บไซต์ การสำรองข้อมูลตามปรกติจะพิจารณาจากความถี่ในการเก็บข้อมูล และรูปแบบเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สำรองข้อมูลทุกวันแบบครบทุกข้อมูลหรือสำรองข้อมูลทุกวันในบางข้อมูล หรือ สำรองข้อมูลทุกเดือนในบางข้อมูล เป็นต้น
โดเมนเนม ปรกติแล้วการให้บริการเว็บโฮสติ้ง มักคิดค่าให้บริการโดเมนเนมรวมไปด้วย จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบเพราะหากไม่รวมค่าบริการโดเมนเนม ผู้ใช้บริการเว็บไซต์จะต้องเสียค่าบริการโดเมนเนมเพิ่ม
ระบบอีเมล ตามปรกติแล้ว เจ้าของเว็บไซต์จะสร้าง หรือไม่สร้างอีเมลของระบบเว็บไซต์ก็ได้ แต่การมีทีมีอีเมลของระบบเว็บไซต์ตนเองย่อมสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่าการใช้ฟรีอีเมล ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ชื่อ abc.com หากเจ้าของเว็บไซต์สร้างระบบอีเมลของตนเองก็สามารถใช้ชื่อ email เป็น info@abc.com หรือ sale@abc.com ฯลฯ ตามความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์ ราคาของ hosting ขึ้นกับจำนวน email account ที่ต้องการและพื้นที่รวมของ email account ทั้งหมด
ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น เป็นสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ควรจะพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งรายใด นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการว่าจะสามารถดูแลระบบได้อย่างดีหรือไม่เนื่องจากมีผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกิจอย่างจริงจังเข้ามาในตลาดจำนวนมาก ค้นหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ได้จากการ search คำว่า Web hosting หรือคำใกล้เคียงกันใน Search Engine
ระบบสำรองข้อมูล เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉิน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายของข้อมูลในเว็บไซต์ การสำรองข้อมูลตามปรกติจะพิจารณาจากความถี่ในการเก็บข้อมูล และรูปแบบเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สำรองข้อมูลทุกวันแบบครบทุกข้อมูลหรือสำรองข้อมูลทุกวันในบางข้อมูล หรือ สำรองข้อมูลทุกเดือนในบางข้อมูล เป็นต้น
โดเมนเนม ปรกติแล้วการให้บริการเว็บโฮสติ้ง มักคิดค่าให้บริการโดเมนเนมรวมไปด้วย จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบเพราะหากไม่รวมค่าบริการโดเมนเนม ผู้ใช้บริการเว็บไซต์จะต้องเสียค่าบริการโดเมนเนมเพิ่ม
ระบบอีเมล ตามปรกติแล้ว เจ้าของเว็บไซต์จะสร้าง หรือไม่สร้างอีเมลของระบบเว็บไซต์ก็ได้ แต่การมีทีมีอีเมลของระบบเว็บไซต์ตนเองย่อมสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่าการใช้ฟรีอีเมล ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ชื่อ abc.com หากเจ้าของเว็บไซต์สร้างระบบอีเมลของตนเองก็สามารถใช้ชื่อ email เป็น info@abc.com หรือ sale@abc.com ฯลฯ ตามความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์ ราคาของ hosting ขึ้นกับจำนวน email account ที่ต้องการและพื้นที่รวมของ email account ทั้งหมด
ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น เป็นสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ควรจะพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งรายใด นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการว่าจะสามารถดูแลระบบได้อย่างดีหรือไม่เนื่องจากมีผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกิจอย่างจริงจังเข้ามาในตลาดจำนวนมาก ค้นหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง ได้จากการ search คำว่า Web hosting หรือคำใกล้เคียงกันใน Search Engine
(3.)เทคนิคการทำ SEOเบื้องต้นที่ควรรู้(reloaded)
การทำ SEO หรือ Search Engine Optimizer นั้นเป็นการทำให้โครงสร้างข้อมูลภายในเว็บของเราที่บรรจุอยู่ใน HTML ของเรา และพวก URL ของเรานั้น มีความหมายและทำให้ Crawler (ซึ่งต่อไปจะขอเรียกเป็น Search Engine เพื่อให้เข้าใจตรงกัน) นั้นสามารถเข้ามาเก็บข้อมูลในเนื้อหาของเราได้ง่าย และตรงกับความต้องการให้ได้มากที่สุด
ซึ่งโดยปกติแล้วจะแนะนำให้ใช้ XHTML ร่วมกับ CSS โดยที่ XHTML นั้นเป็นส่วนที่ใช้สำหรับใส่ข้อมูลและมี Tag พวก XHTML ต่าง ๆ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเนื้อหาให้น้อยที่สุด โดยมีแต่ส่วนที่กำหนดพื้นที่สำหรับแสดงผลต่าง ๆ เป็นชื่อที่สื่อความหมาย โดยใช้พวก <div> และ <span> แล้วกำหนดพื้นที่ของ Layout ด้วยชื่อที่กำหนดใน id หรือ class และโยนหน้าที่การกำหนด Layout ต่าง ๆ ไปที่ CSS ทั้งหมด เพื่อลดขนาดของไฟล์ HTML ที่ตัว Search Engine จะดึงไปเพื่อทำการ Parse ข้อมูลออกมา ทำให้ Search Engine ใช้เวลาประมวลผลต่าง ๆ ลดลงได้มากด้วย แถมลด B/W ลงไปได้เยอะมาก ๆ ในกรณีที่เว็บของเรานั้นมี Priority ในการเข้ามา index ข้อมูลของ Search Engine สูง ๆ
เทคนิดง่าย ๆ แต่ได้ผลนั้นผมสรุปจาก Best and Worst practices for designing a high traffic website อีกทีครับ
- ใส่ Keywords หลัก ๆ ลงบน Title เพราะเป็นพื้นที่ที่ระบบ Search Engine ใช้ในการเข้ามา index ข้อมูลอันดับแรก ๆ
- ใช้ tag Heading (พวก <h*></h*> ต่าง ๆ) ให้เป็นประโยชน์เพื่อให้ Search Engine นั้นเข้าถึงข้อมูลสำคัญ ๆ ในส่วนนี้ก่อนเสมอ เพราะ Search Engine จะมองว่า Heading เป็นเหมือนหัวหลักของเนื้อหาเพื่อนำไปใช้สรุปเนื้อหาตอนค้นหาต่อไป
- ใช้ alt, title, id, class และพวก caption ต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายข้อมูลนั้น ๆ เพราะ Search Engine ไม่เข้าในว่ารูปภาพ หรือข้อมูลพวก Binary ต่าง ๆ ว่ามันคืออะไร
เช่น <img src=”dog.jpg” alt=”Dog jumping into the air” /> - ใช้ META Tag ถึงแม้ว่า META Tag จะเป็นเทคนิคเก่า ๆ นับตั้งแต่มี WWW แต่ก็เป็นการดีที่เราควรจะมีไว้ เพราะ Search Engine ยังคงใช้ข้อมูลนี้เพื่อการจัดอับดับข้อมูลของเรา ในกรณีที่ข้อมูลในหน้านั้น ๆ มีมากเกินไป
- ใช้ Sitemap โดยการสร้าง Sitemap นั้นมีเครืองมือให้ใช้อยู่มากมาย และยิ่งใช้พวก CMS/Blogware ต่าง ๆ พวก Drupal, Wordpress, XOOP, Joomla/Mambo, PHP-nuke ฯลฯ ก็มี module/component/plug-in เข้ามาช่วยสร้าง Sitemap ให้แทบทั้งนั้น โดยประโยชน์ของ Sitemap นั้นช่วยให้ตัว Search Engine นั้นไม่ต้องวิ่งไต่ไปตามลิงส์ต่าง ๆ ของเว็บของเราเพื่อเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด และยิ่งเว็บมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมาก ๆ ยิ่งทำให้หน้าที่อยู่ในส่วนของรากลึก ๆ ต้นไม้ที่เป็นลำดับของลิงส์นั้นเข้าถึงยาก การมี Sitemap จึงช่วยในการบ่งบอกกับ Search Engine ได้ว่าเว็บของเรามีหลายอะไรอยู่บ้าง เพื่อให้ตัว Search Engine เข้ามา Index ข้อมูลได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น
- ทำ URL Friendly หรือ Rewrite URL การทำ URL Friendly นั้นช่วยให้ Search Engine เข้าใจ URL ของเราและทำให้การเก็บ URL และแสดงผล URL เพื่อลิงส์กลับมาหน้าต่าง ๆ ของเว็บเรานั้นทำได้ง่ายมากขึ้น